การส่องกล้องระบบทางเดินอาหาร ควรค้นหาและรักษาตั้งแต่แรกเริ่ม

โรคมะเร็งในระบบทางเดินอาหาร เกิดมากเป็นอันดับ 3 ของมะเร็งในคนไทย ระยะแรกจะไม่มีอาการผิดปกติใดๆ แต่อาจมีสัญญาณเตือน เช่น ปวดจุกแน่นท้อง ระบบขับถ่ายผิดปกติ อาเจียนหรืออุจจาระเป็นเลือด หากมีอาการดังกล่าวควรรีบวินิจฉัยด้วยการส่องกล้อง เพื่อค้นหาความผิดปกติอย่างละเอียด และรักษาได้อย่างทันท่วงที ก่อนมะเร็งลุกลาม

มะเร็งระบบทางเดินอาหาร ส่องกล้องระบบทางเดินอาหาร

การส่องกล้องตรวจกระเพาะอาหาร (Gastroscopy)

                ตรวจโดยการกล้องส่องเข้าไปทางปาก ผ่านหลอดอาหารลงไปภายในกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้น ลักษณะของกล้องเป็นท่อขนาดเล็กปรับความโค้งงอได้ มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1 เซนติเมตร และส่วนปลายของกล้องจะมีเลนส์ขยายภาพ ส่วนอีกด้านจะส่งภาพมายังจอมอนิเตอร์ ซึ่งทำให้แพทย์เห็นภายในอวัยวะที่ตรวจได้อย่างชัดเจน


ข้อดี

- เพื่อตรวจหาความผิดปกติในระบบทางเดินอาหารส่วนต้น ตั้งแต่หลอดอาหาร ไล่ลงไปกระเพาะอาหารเพื่อหาสาเหตุอาการโรค

- ขณะทำการรักษาคนไข้จะไม่รู้สึกเจ็บ แพทย์อาจให้ยาเพื่อคลายกังวล และจะพ่นยาที่คอหรือให้ยาเพื่อให้ชาที่ด้านหลังของคอ

- เมื่อค้นหาสาเหตุ หรือตรวจพบความผิดปกติ แพทย์สามารถทำการรักษาได้ทันที เช่น ติ่งเนื้อ หรือเนื้องอก

- มีความปลอดภัยค่อนข้างสูง ใช้เวลาการตรวจประมาณ 10 -15 นาที


การส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ (Colonoscopy)

                ตรวจโดยการกล้องส่องเข้าขนาดเล็ก มีลักษณะยืดหยุ่นได้ มีกล้องและไฟบริเวณส่วนปลายเพื่อให้ได้ภาพคมชัดในการตรวจ ซึ่งจะช่วยให้แพทย์สามารถเห็นพยาธิสภาพภายในได้อย่างชัดเจน และทำการตรวจรักษาในจุดต่างๆ ได้อย่างแม่นยำ


ข้อดี

- เพื่อหาสาเหตุของความผิดปกติของลำไส้ใหญ่ และตัดชิ้นเนื้อที่ผิดปกติโดยไม่ต้องผ่าตัดทางช่องท้อง

- เพื่อหาสาเหตุและรักษาอาการเลือดออกในลำไส้ใหญ่ ความผิดปกติเกี่ยวกับการขับถ่ายอุจจาระ เช่น ท้องผูกหรือท้องเสียเรื้อรัง อุจจาระมีเลือดปน มีติ่งเนื้อยื่นออกมา มีอาการท้องอืด แน่นท้อง ซีด อ่อนเพลีย

- ช่วยในการรักษาก้อนเนื้องอกแบบที่ไม่ใช่มะเร็ง (polyps) ที่เกิดขึ้นที่บริเวณผนังลำไส้ใหญ่

- เมื่อค้นหาสาเหตุ หรือตรวจพบความผิดปกติ แพทย์สามารถทำการรักษาได้ทันที

- มีความปลอดภัยค่อนข้างสูง ใช้เวลาการตรวจประมาณ 30 นาที


แพ็กเกจและโปรโมชั่น