คลินิกหู คอ จมูก (Ears & Throat & Nose Clinic : ENT)

  • มีทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน เช่น การผ่าตัดไซนัส การผ่าตัดหู การผ่าตัดเนื้องอกบริเวณลำคอ การผ่าตัดไทรอยด์ พร้อมให้การดูแลอย่างมีประสิทธิภาพ
  • การทำงานประสานกันเป็นทีม เพื่อวางแผนการรักษา และติดตามความคืบหน้าของผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง
  • มีการประชุม ทบทวนการให้การรักษาผู้ป่วย เพื่อพัฒนาคุณภาพ การให้การรักษาอยู่เสมอ
  • ทีมแพทย์ที่เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน พร้อมให้คำแนะนำ และปรึกษาปัญหาอาทิเช่น

  • หูอักเสบ โรคหูน้ำหนวก
  • โรคของหู หูอื้อ
  • มีเสียงผิดปกติในหู
  • การได้ยินเสื่อม
  • สิ่งแปลกปลอมในหู
  • ตรวจการทำงานของหูชั้นกลาง
  • การใส่เครื่องช่วยฟังเสียง
  • เจ็บคอเรื้อรัง
  • แผลในคอเรื้อรัง
  • เสียงแหบ
  • เนื้องอกบริเวณลำคอ
  • ต่อมน้ำเหลืองโตบริเวณลำคอ
  • โรคของต่อมน้ำลาย
  • โรคของต่อมไทรอยด์

  • ภูมิแพ้ ไซนัส
  • การผ่าตัดไซนัส

  • ศูนย์การได้ยิน การพูด การทรงตัวและเสียงในหู

    การได้ยิน ปัญหาใหญ่ที่ไม่ควรมองข้าม

            ทารกแรกเกิดจำนวน 3 ใน 1000 ราย มีความพิการทางการได้ยินหรืออาการหูตึงมาแต่กำเนิด ซึ่งจะส่งผลต่อพัฒนาการโดยรวม และโดยเฉพาะการพูด ที่ส่งผลให้เด็กมีโอกาสเป็นใบ้สูงขึ้น ถ้าไม่ได้รับการตรวจวินิจฉัย และฟื้นฟูบำบัดทันเวลา
            ปัจจุบันด้วยความเจริญทางเทคโนโลยีก้าวหน้า สามารถตรวจคัดกรองได้ตั้งแต่ทารกแรกเกิด และหากสงสัยว่าหูหนวกหรือหูตึง ควรตรวจยืนยันภายในเวลา 6 เดือนแรก จะทำให้การรักษาและฟื้นฟูบำบัดโดยใช้เครื่องช่วยการได้ยิน และสอนพูดได้ทันเวลา เพื่อไม่ให้อาการหูตึง หูหนวก เป็นเหตุให้ไม่สามารถพูดได้ หรือเป็นใบ้ในที่สุด หากพบแพทย์ช้า การฟื้นฟูจะเป็นไปได้ยาก เพราะพัฒนาการทางสมองส่วนการได้ยินจะสูญเสียไปภายใน 2 ขวบ ดังนั้น การฟื้นฟูอาการหูตึงในเด็กแรกเกิด ควรทำตั้งแต่ก่อนอายุ 1 ขวบ เนื่องจากจะสามารถเสริมทักษะต่าง ๆ ได้ง่าย แต่ถ้าหากอายุเกิน 6 ขวบ การฟื้นฟูจะยากหรืออาจไม่เกิดผล เพราะสมองที่พัฒนาการพูดหยุดชะงัก อย่างไรก็ตามหากเด็กไม่ได้ผ่านการตรวจวินิจฉัยตั้งแต่แรกเกิด ผู้ปกครองสามารถสังเกตอาการเริ่มต้นได้ อาทิ เด็กไม่มีปฏิกิริยาตอบสนองต่อเสียงหรือพูดด้วย ไม่หัน ไม่รับรู้ ไม่เลียนเสียงพ่อแม่ ออกเสียงไม่ชัดเจน
            ปัจจุบันมีการตรวจคัดกรองการได้ยินตั้งแต่แรกคลอด โดยวัดการรับรู้ตอบสนองของปลายประสาทรับเสียงในหูชั้นใน (Otoacoustic Emmission) ถ้าไม่ผ่านด้วยเหตุใดก็ตามจะต้องมีการตรวจซ้ำ และยืนยันโดยวัดการได้ยินระดับก้านสมอง (Duditory Brainstem Response) การตรวจดังกล่าวเด็กจะไม่มีการเจ็บปวดใด ๆ เป็นการฟังเสียงตามปกติ และหากตรวจพบความผิดปกติ จะทำการตรวจหาระดับการได้ยินที่ถูกต้อง ณ ความถี่ต่าง ๆ (Auditory Steady State Response) เพื่อจัดเครื่องช่วยฟังให้เหมาะสมแต่ละข้างและเป็นราย ๆ ไป เพราะเด็กที่หูพิการนั้นมีระดับการสูญเสียตั้งแต่น้อยไปถึงรุนแรง

            ผู้สูงอายุ กับ อาการหูอื้อ หูตึง เวียนศีรษะ ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป มักถูกเรียกว่าผู้สูงอายุ และถูกจัดเข้ากลุ่ม “วัยเสื่อม” เมื่อเกิดอาการหูอื้อ หูตึง เวียนศีรษะ ก็มักจะถูกละเลย คิดว่าเสื่อมจากวัย ไม่อาจแก้ไขให้คืนดีได้ คิดว่าเป็นเรื่องธรรมที่จะต้องยอมรับ โดยมิได้มีความเข้าใจเรื่องการเสียการได้ยิน และโดยเฉพาะการเสียทรงตัวในผู้สูงอายุ ว่าเป็นเรื่องซับซ้อนที่อาจมีหลายเหตุปัจจัยที่เป็นอันตรายและอาจป้องกันได้ อาจแก้ไขให้ฟื้นคืนดีได้ อย่างไรก็ตาม การแพทย์ได้เจริญก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว ปัจจุบันได้มีการให้ความสนใจผู้สูงอายุมากขึ้น ทำให้โรงพยาบาลส่วนใหญ่มีบริการตรวจวินิจฉัยให้การรักษาผู้สูงอายุมากขึ้น
            การแพทย์ในสาขาผู้สูงอายุเป็นเรื่องซับซ้อนและละเอียดอ่อน เนื่องจากโรคของผู้สูงอายุ ยากจะจำกัดอยู่ ณ อวัยวะเดียวของร่างกาย แต่มักพบความผิดปกติของหลายอวัยวะร่วมกัน ร่วมกับการมีโรคทางกายอื่น ๆ เรื้อรังหรือทับซ้อน รวมทั้งการเสื่อมโดยธรรมชาติ ทำให้การให้การวินิจฉัยและการดูแลรักษายากยิ่งขึ้น ดังนั้นผู้เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุ จำเป็นต้องเข้าใจปัจจัยร่วมต่าง ๆ และสามารถนำมาประยุกต์ใช้เพื่อการดูแลรักษาผู้สูงอายุได้อย่างมีประสิทธิภาพ
            การเสียสมรรถภาพการทรงตัว หรือเกิดอาการเวียนศีรษะ รวมทั้งการเสื่อมการได้ยิน เป็นเรื่องที่พบบ่อยในผู้สูงอายุโดยเฉพาะ และมักได้รับการละเลยว่าเนื่องจากอายุมากแล้ว ทั้ง ๆ ที่ความผิดปกติหลายอย่างอาจป้องกันได้ และแม้เกิดขึ้นแล้วก็อาจรักษาให้หายได้ หรือแก้ไขให้ทุเลา รวมทั้งการฟื้นฟูบำบัดให้กลับฟื้นคืนดีได้ ยิ่งกว่านั้น อาการเวียนศีรษะในผู้สูอายุอาจมีสาเหตุจากโรคแฝงทางร่างกายหรือโรคทางสมอง ซึ่งอาจร้ายแรงเป็นอันตรายต่อชีวิต เช่น ภาวการณ์ขาดเลือดของสมองและหูชั้นใน การผิดปกติของกระดูกคอไปทับเส้นเลือดในสมอง

    การบริการตรวจวินิจฉัย

  • การตรวจวินิจฉัย และรักษาความผิดปกติ เกี่ยวกับการได้ยิน การทรงตัว และอาการเวียนศีรษะบ้านหมุน อาทิ
  •     - โรคหินปูนในหูชั้นในเคลื่อน หรือโรคเวียนศีรษะขณะเปลี่ยนท่า (benign paroxysmal positional vertigo : BPPV) เป็นสาเหตุให้เกิดอาการเวียนศีรษะบ้านหมุน โดยเฉพาะในขณะเปลี่ยนท่าของศีรษะ เช่น ขณะล้มตัวลงนอนหรือลุกจากที่นอน ขณะพลิกตัวในที่นอน ก้มดูของหรือเงยหน้าขึ้นข้างบน
        - โรคน้ำในหูชั้นในผิดปกติหรือโรคน้ำในหูไม่เท่ากัน (Meniere’s disease) ทำให้เกิดอาการเวียนศีรษะบ้านหมุน ร่วมกับอาการหูอื้อ การได้ยินลดลง และมีเสียงรบกวนในหูได้
        - โรคเส้นประสาทการทรงตัวในหูอักเสบ (vestibular neuronitis)
        - โรคเนื้องอกของประสาทการทรงตัวหรือเส้นประสาทการได้ยิน (acoustic neuroma)
        - หูอื้อ (sudden hearing loss)
        - การสูญเสียการได้ยินจากสาเหตุต่าง ๆ เช่น เชื้อไวรัส เชื้อซิฟิลิส ความดันโลหิตสูง เบาหวาน
        - การเสียสมดุลการทรงตัว เช่น โคลงเคลง ทรงตัวได้ไม่ดี เดินแล้วเซ เดินแล้วจะล้ม
  • การตรวจวินิจฉัยและรักษาความผิดปกติเกี่ยวกับการได้ยินในทารกและเด็กเล็ก เช่น สูญเสียการได้ยินแต่กำเนิด การได้ยินผิดปกติ เป็นต้น
  • การทดสอบการได้ยินโดยใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ทันสมัย
  •     - การทดสอบการได้ยินแบบมาตรฐาน
               1. การตรวจสมรรถภาพการได้ยิน (audiometry)
               2. การตรวจแรงดันและการทำงานของหูชั้นกลาง (tympanometry)
  • การทดสอบการได้ยินโดยใช้เครื่องมือพิเศษ
  •     - การตรวจการทำงานของเซลล์ขนในหูชั้นใน (otoacoustic emission : OAE)
  • การตรวจคัดกรองการได้ยิน (hearing screening check)
  •     - การตรวจในผู้ใหญ่
        - การตรวจในทารกแรกเกิดและทารกที่ได้รับการดูแลอยู่ในแผนกบำบัดพิเศษทารกแรกเกิด (Neonatal Intensive Care Unit : NICU)
  • การฟื้นฟูสมรรถภาพการได้ยิน ในผู้ป่วยที่มีปัญหาการได้ยินที่ไม่สามารถรักษาให้หายได้ หรือยังมีความบกพร่องของการได้ยินอยู่ ต้องการการฟื้นฟูสมรรถภาพการได้ยิน ซึ่งต้องอาศัยเครื่องอิเล็กทรอนิกส์พิเศษต่าง ๆ อาทิ เครื่องช่วยฟัง (hearing aids) ประสาทหูเทียม เป็นต้น

  • รายละเอียดแพทย์

    ชื่อแพทย์ :

    นายแพทย์ อรรถกร มีเนตรขำ

    ความชำนาญเฉพาะทาง :

    หู คอ จมูก

    คุณวุฒิ :

    วุฒิบัตรโสต ศอ นาสิกวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
    แพทยศาสตรบัณฑิต คณะแพทยศาสตร์  มหาวิทยาลัยขอนแก่น

    ตารางการออกตรวจแพทย์

    วัน เวลาเริ่ม เวลาสิ้นสุด สัปดาห์/เดือน
    จันทร์ 08:00 17:00
    อังคาร 08:00 20:00
    พฤหัสบดี 08:00 20:00
    อาทิตย์ 08:00 17:00

    ชื่อแพทย์ :

    นายแพทย์ พัลลภ ศิริบุญคุ้ม

    ความชำนาญเฉพาะทาง :

    หู คอ จมูก

    คุณวุฒิ :

    วุฒิบัตร อนุสาขานาสิกวิทยาและโรคภูมิแพ้ คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
    วุฒิบัตรโสต นาสิก ลาริงซ์วิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
    แพทยศาสตร์บัณฑิต คณะแพทยศาสตร์ วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช

    ตารางการออกตรวจแพทย์

    วัน เวลาเริ่ม เวลาสิ้นสุด สัปดาห์/เดือน
    จันทร์ 17:00 20:00
    อาทิตย์ 17:00 20:00

    ชื่อแพทย์ :

    นายแพทย์ ภาวิต พูนภักดี

    ความชำนาญเฉพาะทาง :

    หู คอ จมูก

    คุณวุฒิ :

    วุฒิบัตรโสต ศอ นาสิก ลาริงซวิทยา โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช
    พทยศาสตรบัณฑิต คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

    ตารางการออกตรวจแพทย์

    วัน เวลาเริ่ม เวลาสิ้นสุด สัปดาห์/เดือน
    อังคาร 08:00 16:00
    พุธ 08:00 20:00
    ศุกร์ 08:00 20:00
    เสาร์ 08:00 12:00

    ชื่อแพทย์ :

    แพทย์หญิง พรรณทิพา สมุทรสาคร

    ความชำนาญเฉพาะทาง :

    หู คอ จมูก

    คุณวุฒิ :

    วุฒิบัตร อนุสาขา โสต ศอ นาสิกวิทยาการนอนหลับ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
    วุฒิบัตร โสต ศอ นาสิก คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
    แพทยศาสตรบัณฑิต คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล



    ตารางการออกตรวจแพทย์

    วัน เวลาเริ่ม เวลาสิ้นสุด สัปดาห์/เดือน
    อาทิตย์ 13:00 16:00 สัปดาห์ที่ 1 และ 3 ของเดือน

    ชื่อแพทย์ :

    แพทย์หญิง เมธาวี ไตรรัตนธาดา

    ความชำนาญเฉพาะทาง :

    หู คอ จมูก

    คุณวุฒิ :

    วุฒิบัตร สาขาโสต ศอ นาสิกวิทยา
    ประกาศนียบัตรผู้เชี่ยวชาญสาขา นาสิกวิทยาและโรคภูมิแพ้
    แพทยศาสตรบัณฑิต คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

    ตารางการออกตรวจแพทย์

    วัน เวลาเริ่ม เวลาสิ้นสุด สัปดาห์/เดือน
    เสาร์ 12:00 20:00


    เวลาทำการ

    จันทร์ - พฤหัสบดี เวลา 09.00 – 20.00 น.
    ศุกร์ สัปดาห์ 1,3,5 เวลา 09.00 - 20.00 น./สัปดาห์ที่ 2,4 เวลา 09.00 - 17.00 น.
    เสาร์ เวลา 09.00 - 17.00 น.
    อาทิตย์ เวลา 09.00 - 19.00 น.

    วันและเวลาอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม โดยขอสงวนสิทธิ์ในการแจ้งให้ทราบล่วงหน้า

    สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมหรือนัดหมายแพทย์ล่วงหน้า โทร. 0-2117-4999, 0-2431-0054 ต่อ 2240,2241


    แพ็กเกจและโปรโมชั่น