การบริหารร่างกายเพื่อป้องกันหลังโก่งจากกระดูกพรุน


            สำหรับผู้ป่วยโรคกระดูกพรุน หลังโก่งเกิดขึ้นได้เองโดยไม่ต้องมีอาการนำมาก่อน จึงจำเป็นต้องบริหารร่างกายเพื่อป้องกันไว้ก่อน ซึ่งเป็นการบริหารแบบเหยียดหลัง

ท่าที่ 1
  • นอนคว่ำเหยียดแขน 2 ข้างออกไปด้านหน้า
  • ยกแขนทั้ง 2 ข้างและลำตัวท่อนบนให้ลอยขึ้นจากพื้น
  • นับ 1-3 แล้วค่อยผ่อนลงกับพื้นตามเดิม


  • ท่าที่ 2
  • นอนคว่ำเหยียดแขน 2 ข้างออกไปด้านหน้า
  • ยกขาทั้ง 2 ข้างขึ้นพร้อมกันให้ลอยจากพื้น
  • นับ 1-3 แล้ววางขาลง


  • ท่าที่ 3
  • ยกทั้งแขน และขา 2 ข้างขึ้นจากพื้นพร้อมกัน
  • นับ 1-3 แล้ววางลง


  • บริหารร่างกายแบบเหยียดหลังนี้ ทั้ง 3 ท่าๆละ 20 ครั้งต่อวัน ถ้ามีอาการปวดเอวขณะบริหารอาจใช้หมอนรองที่ท้อง เพื่อลดการแอ่นของเอวให้น้อยลง

    การออกกำลังกายเพื่อรักษามวลกระดูก
    การออกกำลังกายทุกรูปแบบจะช่วยเสริมสร้างให้ร่างกายรวบรวมทั้งกระดูกและกล้ามเนื้อมีความแข็งแรงเพิ่มขึ้น ควรเริ่มออกกำลังกายอย่างต่อเนื่องตั้งแต่วัยเด็ก และตลอดไป ทั้งนี้ต้องเลือกการออกกำลังกายให้เหมาะสมกับวัย สภาพแวดล้อมและคำนึงถึงสมรรถนะของหัวใจ และปอดด้วย สำหรับผู้ที่ไม่เคยออกกำลังกายมาก่อน ควรเริ่มน้อยๆ และค่อยๆเพิ่มขึ้นจนถึงระดับที่เพียงพอโดยออกกำลังกายสัปดาห์ละ 3-4 ครั้ง นานครั้งละ 30-45 นาที แบ่งเป็น 3 ช่วง คือ ช่วงอบอุ่นร่างกาย ฝึกฝนร่างกาย และผ่อนคลายกล้ามเนื้อ

    ชนิดของการออกกำลังกายเพื่อเสริมสร้างกระดูก คือ
  • การออกกำลังกายที่มีการลงน้ำหนัก ชนิดที่มีแรงมากระทำต่อกระดูก ได้แก่ การวิ่งเหยาะ เดินเร็ว เดินขึ้นลงบันได ขี่จักรยาน รำมวยจีน เต้นรำ เต้นแอโรบิกแบบแรงกระแทกต่ำ กระโดดเชือก เทนนิส
  • การออกกำลังกายแบบแรงต้านแรง ได้แก่ การยกน้ำหนัก การออกกำลังกายใต้น้ำ


  • การป้องกันโรคกระดูกพรุนที่ได้ผลดีที่สุด ต้องเริ่มดูแลตนเองอย่างต่อเนื่องตั้งแต่วัยเด็ก โดยการรับประทานอาหารถูกสัดส่วน มีเกลือแร่ วิตามินครบ โดยเฉพาะโปรตีน แคลเซียม วิตามินดีและวิตามินเค2 การออกกำลังกายโดยวิธีการที่ทำให้กระดูกต้องรับน้ำหนัก และการบริหาร่างกายแบบยืดเหยียดหลัง รวมทั้งการได้รับแสงแดดสม่ำเสมอ ตลอดจนการหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่และดื่มสุรา ควบคุมน้ำหนักตัวไม่ให้อ้วน ระวังตัวไม่ให้ล้มและการให้ฮอร์โมนทดแทนในสตรีบางรายที่พ้นวัยหมดประจำเดือน หรือการใช้ยารักษาโดยรับคำปรึกษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ



    ทิพวรรณ ไตรติลานันท์ (รวบรวม)
    รศ.นพ. วิวัฒน์ วจนะวิศิษฐ (ที่ปรึกษา)