“ไส้ติ่งอักเสบ” เป็นภาวะฉุกเฉินทางศัลยกรรมที่พบได้บ่อยในทุกเพศทุกวัย หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรง เช่น ไส้ติ่งแตกนำไปสู่ภาวะติดเชื้อในช่องท้องซึ่งอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต
ด้วยความก้าวหน้าทางการแพทย์ในปัจจุบันการรักษาโรคนี้สามารถทำได้ด้วย “การผ่าตัดไส้ติ่งผ่านกล้อง” (Laparoscopic Appendectomy) ซึ่งเป็นทางเลือกที่ปลอดภัย ช่วยลดภาวะแทรกซ้อน เจ็บตัวน้อย ฟื้นตัวเร็วและมีแผลผ่าตัดขนาดเล็กเหมาะสำหรับผู้ป่วยที่ต้องการกลับมาใช้ชีวิตตามปกติในระยะเวลาที่รวดเร็ว
ไส้ติ่ง (Appendix) เป็นอวัยวะที่มีลักษณะเป็นท่อตันขนาดเล็ก ยาวประมาณ 7-10 เซนติเมตร ยื่นออกมาจากลำไส้ใหญ่ส่วนต้นด้านขวาล่างของช่องท้อง เมื่อเกิดภาวะอุดตัน เช่น จากอุจจาระ เศษอาหาร พยาธิหรือมีการติดเชื้อ ทำให้เกิดภาวะอักเสบ ซึ่งหากปล่อยไว้นานเกินไป ไส้ติ่งอาจแตกและทำให้เกิดการอักเสบหรือติดเชื้อในช่องท้องได้
อาการของไส้ติ่งอักเสบระยะเริ่มต้นสามารถแสดงอาการได้หลายอย่างที่สามารถสังเกตได้ดังนี้
* หากมีอาการเหล่านี้ ควรรีบพบแพทย์ทันที เพราะหากปล่อยไว้นานเกิน 24–48 ชั่วโมง ไส้ติ่งอาจแตกและก่อให้เกิดอันตรายถึงชีวิต
การวินิจฉัยโรคไส้ติ่งอักเสบทำได้จากการซักประวัติ ตรวจร่างกายและการตรวจทางห้องปฏิบัติการ ได้แก่ การตรวจเลือด ตรวจปัสสาวะ การตรวจทางหน้าท้องด้วยอัลตราซาวด์หรือการทำเอกซเรย์คอมพิวเตอร์เพื่อยืนยันการวินิจฉัยว่าภาวะไส้ติ่งอักเสบและประเมินความรุนแรงของโรคก่อนการรักษา
หลังจากได้รับการวินิจฉัยว่าภาวะไส้ติ่งอักเสบ แพทย์จะแนะนำให้ทำการผ่าตัดเพื่อนำไส้ติ่งออกโดยเร็วที่สุด ซึ่งในปัจจุบันมี 2 วิธีหลัก
การผ่าตัดผ่านกล้องเป็นวิธีการผ่าตัดที่ใช้กล้องขนาดเล็กและเครื่องมือพิเศษ สอดผ่านรูเล็กๆ บนหน้าท้อง เพื่อให้ศัลยแพทย์สามารถมองเห็นภายในช่องท้องและผ่าตัดไส้ติ่งออกได้โดยไม่จำเป็นต้องเปิดแผลขนาดใหญ่ที่หน้าท้อง
อาการของไส้ติ่งอักเสบระยะเริ่มต้นสามารถแสดงอาการได้หลายอย่างที่สามารถสังเกตได้ดังนี้
แม้ว่าจะฟื้นตัวได้เร็ว แต่ผู้ป่วยยังคงต้องดูแลตนเองอย่างเหมาะสม ดังนี้
* หากมีไข้ แผลบวมแดง หรือมีหนอง ควรรีบกลับมาพบแพทย์
แม้การผ่าตัดผ่านกล้องจะปลอดภัยสูง แต่ยังมีโอกาสพบภาวะแทรกซ้อนได้ เช่น
* การติดตามผลและมาตรวจตามนัดอย่างต่อเนื่อง จะช่วยลดความเสี่ยงเหล่านี้ได้