เชื้อ GBS ภัยเงียบของแม่ตั้งครรภ์

เชื้อ GBS คืออะไร

        เชื้อ GBS (Group B streptococci) หรือ เชื้อ Streptococcus agalactiae เป็นเชื้อก่อโรคที่ทำให้เกิดการติดเชื้อรุนแรงและทำให้เกิดความพิการหรือเสียชีวิตในทารกแรกเกิด หญิงตั้งครรภ์ร้อยละ 10-30 ที่มีเชื้อนี้แฝงอยู่ที่ช่องคลอดและทวารหนักหรืออาจเรียกว่าเป็นพาหะของเชื้อ GBS สามารถทำให้หญิงตั้งครรภ์เกิดการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ การติดเชื้อของเยื่อบุโพรงมดลูก ถุงน้ำคร่ำอักเสบ ติดเชื้อในกระแสเลือด หรืออาจพบเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อนี้ได้ ซึ่งการถ่ายทอดเชื้อจากมารดาสู่ทารกนั้นมักเกิดจากการติดเชื้อระหว่างคลอด ในช่วงที่ทารกคลอดผ่านช่องคลอดที่มีเชื้อ GBS แฝงอยู่ได้


เชื้อ GBS, Group B Streptococcus (GBS), แบคทีเรียสเตรปโตคอคคัส, คนท้อง, Streptococcus group b,Streptococcus agalactiae, GBS positive, Group B Streptococcus, หญิงตั้งครรภ์

กลุ่มเด็กทารกที่สงสัยติดเชื้อ GBS

        กรณีเด็กที่คลอดก่อนอายุครรภ์ 37 สัปดาห์ กลุ่มนี้แพทย์จะให้ยาฆ่าเชื้อทันที โดยไม่ต้องตรวจเพาะหาเชื้อและมีการติดตามอย่างต่อเนื่อง การตรวจหาเชื้อ GBS จากเลือดหรือน้ำไขสันหลังของเด็กแรกเกิดโดยเทคนิค Loop mediated isothermal amplification (LAMP) ในการเพิ่มปริมาณสารพันธุกรรม DNA ของเชื้อ เป็นเทคนิคที่มีความไวในการตรวจวัด (sensitivity) และมีความจำเพาะ (Specificity) กับตัวเชื้อสูง มีขั้นตอนการตรวจไม่ยุ่งยาก ใช้งานง่าย ช่วยให้ทราบผลได้อย่างรวดเร็ว และช่วยในการวางแผนการรักษาได้อย่างถูกต้อง แม่นยำมากยิ่งขึ้น


กลุ่มแม่ที่ติดเชื้อ GBS

        การสัมผัสตุ่มน้ำหรือแผลของผู้ป่วยงูสวัดอาจทำให้ผู้ที่ไม่มีภูมิคุ้มกันเกิดเป็นโรคอีสุกอีใสได้ ดังนั้น ควรแยกข้าวของเครื่องใช้ เครื่องนุ่งห่ม ผ้าเช็ดตัว ที่นอนของผู้ป่วยโรคงูสวัดกับผู้ที่ยังไม่เคยเป็นโรคอีสุกอีใสมาก่อน


ปัจจัยเสี่ยงต่อการติดเชื้อ

        • มารดามีเชื้อ GBS Colonization อยู่ในช่องคลอด

        • การคลอดก่อนกำหนด

        • น้ำเดินก่อนคลอด มากกว่า 18 ชั่วโมง

        • มารดามีน้ำคร่ำติดเชื้อ (Chorioamnionitis)

        • มารดาอายุน้อยกว่า 20 ปี

        • มารดามีไข้ระหว่างเจ็บครรภ์คลอด (อุณหภูมิสูงกว่า 38 องศาเซลเซียส)

        • เคยมีประวัติคลอดทารกที่ติดเชื้อ GBS


การป้องกัน

        1. ตรวจหาเชื้อ GBS Colonization ในสตรีตั้งครรภ์

        2. ให้ยาต้านจุลชีพ เพื่อกำจัดเชื้อในหญิงตั้งครรภ์ที่มีเชื้อ GBS Colonization

        3. ให้ยาต้านจุลชีพในหญิงตั้งครรภ์ที่มีปัจจัยเสี่ยงคลอดทารกติดเชื้อ GBS

        4. ให้วัคซีนป้องกันการติดเชื้อ GBS ในหญิงก่อนตั้งครรภ์


        เชื้อ GBS เป็นสาเหตุที่ท่าให้เกิดความพิการหรือเสียชีวิตในทารกแรกเกิด ดังนั้น หญิงตั้งครรภ์ทุกคนควรฝากครรภ์ทันทีเมื่อรู้ว่าตนเองตั้งครรภ์ เพื่อรับการตรวจคัดกรองโรคต่างๆ ที่สามารถถ่ายทอดสู่ทารกในครรภ์ได้ ซึ่งการตรวจหาเชื้อ GBS ในระหว่างตั้งครรภ์ก็เป็นหนึ่งในโรคเสี่ยงที่จำเป็นต้องตรวจในสตรีตั้งครรภ์


        นัดหมายปรึกษาสูตินรีแพทย์ คลินิกสุภาพสตรี สูตินรีเวช โทร. 0-2117-4999 ต่อ 2266,2267