Q&A โรคเบาหวานเรื่องไม่หวานที่ควรรู้


       ปัจจุบันยังมีคนจำนวนมากที่ไม่ทราบว่าตัวเองเป็นโรคเบาหวานและไม่ได้รับข้อมูลความรู้ รวมถึงการดูแลรักษาอย่างถูกต้อง หากปล่อยไว้อาจมีความเสี่ยงเกิดโรคแทรกซ้อน อาทิ โรคหลอดเลือดสมอง โรคหัวใจ ไตวาย โรคเกี่ยวกับดวงตา และอาจอันตรายถึงชีวิตได้ เพื่อให้ทุกท่านได้ทราบข้อมูลโรคเบาหวานจึงมีการรวมคำถามที่เกี่ยวข้องกับโรคนี้เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจ สามารถดูแลสุขภาพตนเองและคนที่รักให้ห่างไกลจากโรคเบาหวาน รวมถึงผู้ที่ป่วยโรคนี้จะได้รับคำแนะนำเพื่อไปปรับใช้ในการดูแลตนเองได้อย่างถูกต้อง โดยได้รวบรวมคำถามที่เกี่ยวกับโรคเบาหวานที่ควรรู้ ดังนี้


Q : โรคเบาหวานเกิดขึ้นได้อย่างไร

       A : โรคเบาหวานเกิดได้จากหลายสาเหตุ ส่วนใหญ่มักมีทั้งปัจจัยทางพันธุกรรมและปัจจัยสิ่งแวดล้อมร่วมกัน เช่น กรรมพันธุ์ มีญาติสายตรงเป็นเบาหวาน อายุที่มากขึ้น ภาวะดื้ออินซูลิน ซึ่งเป็นฮอร์โมนลดน้ำตาลจากภาวะน้ำหนักเกิน ขาดการเคลื่อนไหวและออกกำลังกาย การตั้งครรภ์ก็ทำให้ดื้ออินซูลินได้ เนื่องจากมีการสร้างฮอร์โมนจากรกหลายชนิด รวมถึงการได้รับยาบางชนิด เช่น สเตียรอยด์ นอกจากนี้อาจเกิดจากการขาดอินซูลิน เนื่องจากตับอ่อนถูกทำลายจากภูมิคุ้มกันของร่างกาย, ตับอ่อนอักเสบเรื้อรังหรือได้รับการผ่าตัดตับอ่อน


Q : จะรู้ได้อย่างไรว่าเป็นเบาหวาน มีสัญญาณเตือนอะไรบ้าง

       A :ในระยะแรกของโรคเบาหวานที่น้ำตาลไม่สูงมาก มักจะไม่มีอาการเตือน แต่ถ้าเป็นมาระยะหนึ่งแล้วจะมีอาการที่สามารถสังเกตได้ เช่น ปัสสาวะบ่อย ต้องลุกขึ้นมาปัสสาวะกลางคืนมากกว่า 1 ครั้ง คอแห้ง กระหายน้ำ ดื่มน้ำมาก หิวบ่อย รับประทานจุแต่น้ำหนักลดลง อ่อนเพลีย แผลหายยาก ติดเชื้อตามผิวหนังง่าย เป็นเชื้อราหรือมีตกขาว สายตาพร่ามัว ชาปลายมือปลายเท้า อาจมีภาวะแทรกซ้อนจากน้ำตาลในเลือดสูงมากที่รุนแรง เช่น ซึมลง ขาดสารน้ำ เลือดเป็นกรดได้ ส่วนรายที่เป็นมานานอาจมีสัญญาณจากภาวะแทรกซ้อน เช่น เบาหวานขึ้นตาจนจอประสาทตาเสื่อมหลุดลอก เส้นเลือดหัวใจตีบและอัมพาตได้


Q : โรคเบาหวานมีกี่ประเภท

       A :โรคเบาหวานมีหลายประเภทมาก อ้างอิงจากองค์การอนามัยโลก ในปี 2019 แบ่งได้ถึง 6 ประเภท คือ

         1.เบาหวานชนิดที่ 1 (Type 1 diabetes)

         2.เบาหวานชนิดที่ 2 (Type 2 diabetes)

         3.เบาหวานรูปแบบผสม (Hybrid forms of diabetes)

         4.เบาหวานชนิดจำเพาะ (Other specific types)

         5.เบาหวานที่ยังไม่สามารถจัดชนิดได้ (Unclassified diabetes)

         6.เบาหวานที่ตรวจเจอครั้งแรกขณะตั้งครรภ์ (Hyperglycemia first detected during pregnancy)


โดยโรคเบาหวานประเภทที่พบได้บ่อยคือชนิดที่ 2 มักพบในผู้ที่มีน้ำหนักเกิน ปริมาณไขมันเยอะ ซึ่งทำให้ดื้อต่อฮอร์โมนอินซูลิน


Q : ทำไมคนที่อ้วนมากๆ มักจะป่วยโรคเบาหวาน

       A :ผู้ที่มีภาวะอ้วนลงพุงเมื่อมีมวลไขมันสะสมในช่องท้องมากๆจะทำให้ฮอร์โมนต่าง ๆ ในร่างกายทำงานผิดปกติ รวมถึงฮอร์โมนอินซูลินจะออกฤทธิ์ได้ไม่ดี ทำให้น้ำตาลขึ้นสูงได้ โรคอ้วนจึงเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญของการเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ซึ่งเป็นชนิดที่พบได้บ่อยที่สุด


Q : ทำไมเราต้องตรวจคัดกรองเบาหวานถึงแม้ไม่มีอาการ

       A :จากงานวิจัยหลายชิ้น พบว่าก่อนจะมีอาการจากเบาหวานหรือวินิจฉัยโรคเบาหวาน จริง ๆ แล้วผู้ป่วยเริ่มเป็นเบาหวานมาก่อน 5 หรือ 10 ปี หรือมากกว่านั้น ดังนั้น การตรวจคัดกรองในกลุ่มเสี่ยงจึงสำคัญมาก เพื่อให้รักษาได้ทันก่อนจะมีภาวะแทรกซ้อนจากเบาหวาน ซึ่งการตรวจวินิจฉัยไม่ยากเพียงแค่เจาะเลือดเท่านั้น แต่หากยังไม่ได้เจาะเลือด ก็สามารถคิดคะแนนความเสี่ยงจากข้อมูลของคนไทยได้ตามแนวทางการคัดกรองการวินิจฉัยโรคเบาหวาน โดยแต่ละปัจจัยเสี่ยงจะให้น้ำหนักคะแนนไม่เท่ากัน ถ้ารวมคะแนนได้ตั้งแต่ 6 คะแนนขึ้นไป ก็จะถือว่ามีความเสี่ยงเกิดเบาหวานใน 12 ปีข้างหน้า ดังตารางแนวทางการคัดกรองการวินิจฉัยโรคเบาหวานในผู้ใหญ่ ดังนี้


เบาหวาน, โรคเบาหวาน, แนวทางคัดกรองโรคเบาหวาน, Diabetes mellitus, DM

Q : โรคเบาหวานต้องเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนอะไรบ้าง

       A :ภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวานมีทั้งแบบเฉียบพลันและเรื้อรัง

       แบบเฉียบพลัน  จัดเป็นภาวะฉุกเฉิน ได้แก่ ภาวะกรดคีโตนคั่งในเลือด จะมีอาการคลื่นไส้อาเจียน ปวดท้อง หายใจหอบจากเลือดเป็นกรด และภาวะออสโมลในเลือดสูงจากน้ำตาลในเลือดสูงมากและขาดสารน้ำรุนแรงจนมีอาการซึมลง ทั้ง 2 ภาวะนี้ต้องได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วนเพราะอันตรายถึงชีวิตได้

       ภาวะแทรกซ้อนเรื้อรัง  ที่ผู้ป่วยต้องเฝ้าระวัง แบ่งเป็นโรคแทรกซ้อนในหลอดเลือดขนาดเล็ก ที่เราเรียกกันว่า เบาหวานขึ้นตา เบาหวานลงไตและปลายประสาทเสื่อม สุดท้ายคือโรคแทรกซ้อนในหลอดเลือดขนาดใหญ่ ได้แก่ โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคเส้นเลือดแดงส่วนปลายอุดตัน ซึ่งผู้ที่เป็นเบาหวานควรได้รับการตรวจคัดกรองภาวะเหล่านี้ รวมถึงควรได้รับความรู้เพื่อเฝ้าระวัง สังเกตอาการของภาวะแทรกซ้อน เพื่อจะได้ป้องกันและรักษาได้ทัน


Q : ผู้ที่เป็นเบาหวานที่เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดสูงหรือภาวะน้ำตาลต่ำสังเกตได้อย่างไร และจะดูแลตัวเองอย่างไร

       A :ในรายที่น้ำตาลในเลือดสูงไม่มาก อาจจะไม่มีอาการชัดเจนได้ จึงทราบได้จากผลเลือด โดยทั่วไปเป้าหมายน้ำตาลรายวันคือ 80-130 มก./ดล. และน้ำตาลสะสมไม่เกิน 7.0% แต่เป้าหมายการรักษาที่เหมาะสมแต่ละคนจะไม่เหมือนกัน ส่วนรายที่น้ำตาลสูงมากที่มีอาการ มักสูงเกิน 180 มก./ดล. จะเริ่มมีน้ำตาลรั่วทางปัสสาวะ ทำให้ปัสสาวะบ่อยและมีอาการอื่น ๆ ที่กล่าวไปแล้วของโรคเบาหวาน ในการดูแลตัวเองจึงควรปรับอาหารให้เหมาะสมทั้งปริมาณและคุณภาพอาหาร ออกกำลังกาย ใช้ยาตามแพทย์แนะนำสม่ำเสมอและหากจำเป็นในบางรายอาจใช้เครื่องเจาะน้ำตาลปลายนิ้วที่บ้านซึ่งจะช่วยให้ควบคุมน้ำตาลได้ดีขึ้น


       อีกภาวะที่สำคัญคือภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ เพราะทำให้เกิดอันตรายได้มาก โดยเฉพาะผู้สูงอายุหรือมีโรคร่วม เช่น โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง ควรทราบอาการเตือนของน้ำตาลต่ำ เช่น ใจสั่น หิว ร้อน เหงื่อออก กระสับกระส่าย สับสน ตอบสนองช้า ง่วงซึม พฤติกรรมเปลี่ยนแปลง หมดสติ ชัก เป็นต้น เมื่อเจาะน้ำตาลปลายนิ้วแล้วค่าต่ำกว่าหรือเท่ากับ 70 มก./ดล. ซึ่งหากอาการไม่รุนแรง ยังตื่นรู้ตัว รับประทานได้ ให้ทานอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรต 15 กรัม เช่น น้ำแดงเฮลบลูบอย 2 ช้อนโต๊ะ ผสมน้ำ 1 แก้ว น้ำส้มคั้น 180 มล. น้ำผึ้ง 3 ช้อนชา กล้วย 1 ผล เป็นต้น หลังจากนั้นเจาะน้ำตาลซ้ำที่ 15 นาที หากค่ายังต่ำอยู่ให้ทานซ้ำอีกครั้ง หลังจากแก้ไขจนน้ำตาลดีขึ้นแล้ว สามารถทานอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อนและโปรตีนเพื่อป้องกันการเกิดน้ำตาลต่ำเกิดขึ้นได้อีก โดยมักจะเกิดในรายที่ใช้ยาลดน้ำตาลบางชนิดรวมถึงอินซูลิน ร่วมกับการใช้ยาที่ไม่สัมพันธ์กับการรับประทานอาหาร หรือขนาดยามากเกินไปซึ่งถ้าเกิดภาวะเหล่านี้ ควรแจ้งแพทย์ทันทีเพื่อหาสาแหตุ แก้ไขและป้องกันไม่ให้เกิดภาวะนี้อีก


Q : ผู้ป่วยที่ฉีดอินซูลิน แสดงว่าเบาหวานที่เป็นถึงขั้นเป็นอันตรายกับชีวิตจริงหรือไม่

       A :ไม่จริง หลายคนเข้าใจผิด คิดว่าการใช้อินซูลินน่ากลัวมากเกินจริง โดยอินซูลินมีข้อบ่งชี้และมีประโยชน์มาก เช่น ในรายที่น้ำตาลในเลือดสูงเกิน 300 มก./ดล. หรือน้ำตาลสะสมเกิน 11% ร่วมกับมีอาการจากน้ำตาลในเลือดสูง การใช้ยาเม็ดลดน้ำตาลอย่างเดียวจะมีประสิทธิภาพไม่เพียงพอในการลดระดับน้ำตาลในเลือด การฉีดอินซูลินจะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดลงตามเป้าหมายได้เร็วกว่าบางราย เมื่อคุมน้ำตาลได้ดีแล้วสามารถปรับลดหรือหยุดยาอินซูลินเหลือแต่ยาเม็ดลดน้ำตาลก็มี กรณีอื่นที่ต้องใช้อินซูลิน อาทิโรคเบาหวานชนิดที่ขาดอินซูลิน ชนิดที่ 1 โรคเบาหวานจากตับอ่อน หรือหญิงตั้งครรภ์ที่คุมอาหารแล้วยังคุมน้ำตาลไม่ได้ การใช้อินซูลินถือเป็นตัวช่วยลดน้ำตาลได้ดี และปลอดภัยกับทารกในครรภ์ เพราะฉะนั้นคำตอบนี้จึงตรงข้ามกับคำถาม หากมีข้อบ่งชี้ที่ควรใช้อินซูลินแล้วไม่ได้ใช้ต่างหากที่อาจอันตรายถึงชีวิตได้


       สิ่งสำคัญของการป้องกันโรคเบาหวานทุกชนิด เลี่ยงอาหารรสหวาน มัน เค็ม ไม่สูบบุหรี่ ไม่ดื่มแอลกอฮอล์ มีกิจกรรมทางกาย ออกกำลังกายสม่ำเสมอ สำหรับผู้ที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป ควรตรวจระดับน้ำตาลในเลือดปีละครั้ง ควบคุมน้ำหนักตัวให้เหมาะสม สำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานควรดูแลสุขภาพตนเอง พบแพทย์ตามนัด เพื่อให้ประเมินสุขภาพตนเองเป็นระยะจะช่วยลดโรคแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต


                                                          นัดหมายปรึกษาแพทย์เฉพาะทางคลินิกเบาหวานและต่อมไร้ท่อ โทร. 0-2117-4999 ต่อ 2330

ankara escort çankaya escort çankaya escort escort ankara çankaya escort escort bayan çankaya istanbul rus escort eryaman escort escort bayan ankara ankara escort kızılay escort istanbul escort ankara escort ankara grup escort ankara olgun escort çankaya escort çayyolu escort cebeci escort dikmen escort eryaman escort etlik escort gaziosmanpaşa escort keçiören escort kızılay escort sincan escort turan güneş escort ankara escort ankara rus escort ankara escort çankaya escort çayyolu escort dikmen escort eryaman escort gaziosmanpaşa escort incek escort ankara olgun escort kızılay escort keçiören escort cebeci escort ankara rus escort escort çankaya ankara escort bayan istanbul rus Escort atasehir Escort beylikduzu Escort Ankara Escort Ankara genç Escort Ankara masöz Ankara rus Escort Ankara ucuz Escort Ankara vip Escort çankaya Escort keçiören Escort kızılay Escort sınırsız Escort sıhhiye Escort eryaman Escort dikmen Escort malatya Escort kuşadası Escort gaziantep Escort izmir Escort antalya Escort Gaziantep Escort Shell Download